เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 3.ติสสพรหมสูตร
สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ได้มี
ความคิดดังนี้ว่า “เทวดาเหล่าไหนมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ
อยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า
‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”
สมัยนั้นแล ภิกษุชื่อติสสะมรณภาพได้ไม่นานก็เข้าถึงพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง แม้ใน
พรหมโลกนั้น พวกพรหมก็รู้จักท่านอย่างนี้ว่า “ติสสพรหม มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
ลำดับนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายจากภูเขาคิชฌกูฏไปปรากฏที่พรหม-
โลกนั้น เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ติสสพรหมได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล จึงกล่าวกับท่าน
อย่างนี้ว่า “นิมนต์เข้ามาเถิด ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ขอต้อนรับ นาน ๆ
ท่านจะมีเวลามา ณ ที่นี้ นิมนต์นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้เถิด”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายติสสพรหมได้อภิวาท
ท่านแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “ติสสะ เทวดา
เหล่าไหนมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์
เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”
“ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกา1มีญาณอย่างนี้ใน
บุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่
มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่'
“ติสสะ เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาทั้งหมดเลยหรือที่มีญาณอย่างนี้ในบุคคล
ผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่''
“มิใช่เลย ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ที่เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาทั้งหมด
มีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 5 สัตตกนิบาต ข้อ 44 หน้า 67 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :105 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 3.ติสสพรหมสูตร
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาผู้ยินดีด้วยอายุที่เป็น
ของพรหม ยินดีด้วยวรรณะที่เป็นของพรหม ยินดีด้วยสุขที่เป็นของพรหม ยินดีด้วย
ยศที่เป็นของพรหม ยินดีด้วยความเป็นใหญ่ที่เป็นของพรหม ไม่รู้ชัดอุบายเป็น
เครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นไปตามความเป็นจริง เทวดาเหล่านั้นไม่มีญาณอย่างนี้ในบุคคล
ผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ส่วนเหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาผู้ไม่ยินดีด้วย
อายุที่เป็นของพรหม ไม่ยินดีด้วยวรรณะที่เป็นของพรหม ไม่ยินดีด้วยสุขที่เป็นของ
พรหม ไม่ยินดีด้วยยศที่เป็นของพรหม ไม่ยินดีด้วยความเป็นใหญ่ที่เป็นของพรหม
รู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นไปตามความเป็นจริง เทวดาเหล่านั้นมีญาณ
อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือใน
บุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นอุภโตภาควิมุต1 เทวดา
เหล่านั้นย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นอุภโตภาควิมุต กายของท่านจัก
ดำรงอยู่เพียงใด เหล่าเทวดาและมนุษย์จักเห็นท่านเพียงนั้น แต่เมื่อท่านมรณภาพไป
เหล่าเทวดาและมนุษย์จักไม่เห็นท่าน’ เทวดาเหล่านั้นมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์
เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นปัญญาวิมุต เทวดาเหล่านั้น
ย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นปัญญาวิมุต กายของท่านจักดำรงอยู่เพียงใด

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “อุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต ธัมมานุสารี” ที่ปรากฏในติสสพรหม-
สูตรนี้ ดูความหมายในเชิงอรรถที่ 2,3,4,5 หน้า 20 และในเชิงอรรถที่ 1,2 หน้า 21 ในเล่มนี้ และดู
องฺ.ทสก. (แปล) 24/16/29-30

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :106 }